วัน-เวลาทำการ: 9:00-19:00น. (จันทร์-อาทิตย์)
พูดคุยกับเรา 062-651-9364
การใส่ท่อดมยาสลบ

ดมยาสลบ โดยหมอวิสัญญี คือ?

การทำให้ผู้ทำการผ่าตัดหลับ และไม่รู้สึกตัวขณะผ่าตัด ทำให้ผู้ทำการผ่าตัดไม่สามารถจำเหตุการณ์ หรือไม่รู้สึกเจ็บระหว่างผ่าตัด โดยปกติแล้วจะทำภายใต้การดูแลของหมอวิสัญญี

เนื่องจากในช่วงที่ใช้ยาสลบ จำเป็นต้องดูแลเรื่องการหายใจ รวมถึงสัญญาณชีพต่างๆ ซึ่งการดมยาสลบ จะทำโดยใส่ท่อช่วยหายใจ หรือสูดดมผ่านทางหน้ากาก โดยหมอวิสัญญีจะเป็นคนประเมินตามความเหมาะสมของการผ่าตัด

สิ่งที่สำคัญ สำหรับการทำให้หลับ ต้องมีหมอวิสัญญีตลอดการผ่าตัด เพราะว่าหมอวิสัญญีจะเป็นคนดูการหายใจระหว่างเราหลับไม่รู้สึกตัว รวมถึงดูค่ามอนิเตอร์ต่างๆว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย

หมอหลิว บอกเรื่องยาสลบ

ก่อนอื่นหมอแนะนำอย่างนี้ว่า… จะใช้ยาสลบหรือไม่ใช้ ขึ้นกับตัวเราว่าเรากลัวมากน้อยขนาดไหน และสามารถทนความเจ็บได้มากน้อยขนาดไหน

ถ้าทนเจ็บได้น้อย ประกอบกับกลัวอีก อาจจะเป็นข้อบ่งชี้แล้วว่าเหมาะกับการใช้ยานอนหลับ หรือใช้ยาสลบมากกว่า เพื่อจะได้ไม่เครียดระหว่างผ่าตัด หรือล้มเลิกกลางคัน

Line-tonliewclinic

แอดไลน์ พูดคุยปรึกษากับหมอหลิวโดยตรง เรื่องยาสลบ

อุปกรณ์ที่ใช้ ในการดมยาสลบ

เครื่องดมยาสลบ

1. เครื่องดมยาสลบ

แก๊สยาสลบ

2. แก๊สยาสลบ

ท่อช่วยหายใจ

3. ท่อช่วยหายใจ

ยาต่างๆที่ใช้ขณะยาสลบ เช่น morphine fentanyl Propofol เป็นต้น

4. ยาต่างๆที่ใช้ขณะยาสลบ เช่น Morphine, Fentanyl, Propofol เป็นต้น

เครื่องมอนิเตอร์ต่างๆ ที่สามารถดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, EtCo2 ออกซิเจน อัตราการเต้นหัวใจได้เป็นต้น

5. เครื่องมอนิเตอร์ต่างๆ ที่สามารถดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, EtCo2, ออกซิเจน, อัตราการเต้นหัวใจ เป็นต้น

ถังออกซิเจน ถังไนตรัส เป็นต้น

6. ถังออกซิเจน ถังไนตรัส เป็นต้น

ยาสลบ กับยานอนหลับ ต่างกันอย่างไร ?

ยาสลบ กับยานอนหลับ ต่างกันอย่างไร ?

พูดคุยกับหมอหลิว ปรึกษาเรื่องยาสลบระหว่างผ่าตัด

Line-tonliewclinic
เตรียมอุปกรณ์ เครื่องดมยาสลบ

การใช้ยาสลบ สถานที่ และอุปกรณ์ต้องพร้อม ไม่ว่าจะเป็นระบบแก๊สต่างๆ ออกซิเจน, ไนตรัส และอื่นๆ

รวมถึงต้องมีการขออนุญาตจากกระทรวง เพื่อได้ครอบครองยาบางตัวได้อย่างถูกกฎหมาย

และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดคือ ต้องทำโดยแพทย์วิสัญญี

หลายที่อาจเลือกพยาบาลวิสัญญีแทน เพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือไม่มีหมอวิสัญญี

การใส่ท่อช่วยหายใจ ดมยาสลบ

ให้คุณได้มั่นใจ ทางต้นหลิวคลินิก คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก

ดังนั้นจะดมยาสลบ ภายใต้การดูแลของหมอวิสัญญีเท่านั้น!

พร้อมดูแลทุกเคส แบบส่วนตัว 1:1 เพื่อความปลอดภัยของคุณ

ยาสลบไม่ใช่ทุกคนจะใช้ได้ ต้องตรวจสุขภาพก่อนการผ่าตัด โดยของต้นหลิวคลินิก แบ่งการตรวจดังนี้

รายการตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดก่อนศัลยกรรม (อายุน้อยกว่า 50ปี)

รายการตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดก่อนศัลยกรรม (สำหรับ อายุน้อยกว่า 50ปี)

รายการตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดก่อนศัลยกรรม (อายุมากกว่า 50ปี)

รายการตรวจสุขภาพ และตรวจเลือดก่อนศัลยกรรม (สำหรับ อายุมากกว่า 50ปี)

การเตรียมตัว กรณีใช้ยาสลบ หรือยานอนหลับ โดยหมอวิสัญญี

การเตรียมตัว กรณีใช้ยาสลบ หรือยานอนหลับ โดยหมอวิสัญญี

เคสยาสลบ เหมาะกับเคสแบบไหน ?

เคสที่มีความกังวลค่อนข้างสูง

1. เคสที่มีความกังวลค่อนข้างสูง

เคสที่มีความอดทนน้อย หรือกลัวเจ็บ

2. เคสที่มีความอดทนน้อย กลัวเจ็บ

เคสที่ผ่าตัดเป็นเวลานานๆ อาทิ ดูดไขมันหลายตำแหน่ง

3. เคสที่ผ่าตัดเป็นเวลานานๆ อาทิ ดูดไขมันหลายตำแหน่ง

งานแก้ต่างๆ เช่น ดูดไขมันแก้ที่มีปัญหา กลุ่มนี้จะเจ็บเยอะ เหมาะกับการใช้ยาสลบมากกว่า

4. เคสแก้ เช่น ดูดไขมันแก้ส่วนที่มีปัญหา กลุ่มนี้จะเจ็บเยอะ เหมาะกับการใช้ยาสลบมากกว่า

ขั้นตอนการดมยาสลบ โดยหมอวิสัญญี

ประเมินดูผลเลือดต่างๆ

1. ประเมินดูผลเลือดต่างๆ เตรียมความพร้อมผู้ทำการผ่าตัด มีการซักประวัติเพิ่มเติม เช่น

  • มีประวัติเจ็บป่วย ใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ?
  • เคยผ่าตัดอะไรมาบ้าง ?
  • เคยดมยาสลบมาก่อนไหม และมีปัญหาอะไรไหม จากการดมยาครั้งก่อน ?
  • มีโรคประจำตัวอะไร แพ้ยา แพ้อาหารอะไรบ้าง ?
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ มากน้อย หรือบ่อยเพียงใด ?
ตรวจสอบความพร้อม และเตรียมเครื่องมือ

2. ตรวจสอบความพร้อม และเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ และยาที่จำเป็น

ติดอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพ

3. ติดอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพ เพื่อบันทึก และเฝ้าระวังดูแลผู้ทำการผ่าตัด

เปิดเส้นเลือด เพื่อให้น้ำเกลือ และให้ยา

4. มีการเปิดเส้นเลือด เพื่อให้น้ำเกลือ และให้ยาระหว่างผ่าตัด

เริ่มมีการฉีดยาเพื่อให้หลับ และให้สูดดมแก๊สยาสลบ

5. เช็กทุกอย่างเรียบร้อย เริ่มมีการฉีดยาเพื่อให้หลับ และให้สูดดมแก๊สยาสลบ โดยวิสัญญีแพทย์จะทำการครอบหน้ากากออกซิเจนที่ปาก และจมูกของผู้ทำการผ่าตัด

เมื่อผู้ทำการผ่าตัดเริ่มหลับ ไม่รู้สึกตัว จะเริ่มใส่ท่อช่วยหายใจ และต่อเข้ากับเครื่องยาสลบ

โดยจะมีการปรับใช้ยาระหว่างผ่าตัด ดูมอนิเตอร์ต่างๆจนสิ้นสุดการผ่าตัด หลังจากนั้นจะนำท่อช่วยหายใจออก และย้ายผู้ทำการผ่าตัด ไปยังห้องเฝ้าดูอาการในห้องพักฟื้นต่อไป

ให้ผู้ทำการผ่าตัดได้พักฟื้นนอนต่อ

6. ให้ผู้ทำการผ่าตัดได้พักฟื้นนอนต่อ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ตรวจสอบสัญญาณชีพต่างๆปกติ ก็สามารถให้ผู้ทำการผ่าตัดกลับบ้านได้

หมายเหตุ : การใช้ยาสลบ ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล หรือคลินิก สามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ แต่จำเป็นต้องมีญาติมารับหลังผ่าตัดเสร็จเท่านั้น

พูดคุยกับหมอหลิว ปรึกษาเรื่องยาสลบระหว่างผ่าตัด

Line-tonliewclinic

ผลข้างเคียง การดมยาสลบ

  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บคอ คอแห้ง ไอแห้ง เสียงแหบ แต่ไม่นานก็จะกลับมาปกติ เป็นอาการชั่วคราวไม่อันตราย
  • ตัวสั่น หรือรู้สึกหนาวสั่น อาจเกิดขึ้นชั่วขณะ ยาวนานหลายนาที หรือหลายชั่วโมง
  • รู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ช่วงหลังจากฟื้นจากยาสลบ

ภาวะแทรกซ้อน การดมยาสลบ

  • แพ้ยามากจนช็อค หายใจไม่ไหว ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนใหญ่จะเกิดกับบางเคส และมีโรคประจำตัว ควรต้องปรึกษาวิสัญญีแพทย์ก่อน
  • การบาดเจ็บช่องปาก โดยเฉพาะฟัน และลิ้น เนื่องจากมีการใส่อุปกรณ์บริเวณช่องปาก (ท่อช่วยหายใจ)
  • เกิดความเสียหายบริเวณเส้นเสียงที่อยู่ภายในลำคอ จากการใช้ท่อช่วยหายใจทำให้เกิดอาการเสียงแหบ และเจ็บคอ แต่เป็นเพียงอาการชั่วคราว

การตื่นระหว่างผ่าตัด ภาวะการรู้สึกตัวระหว่างดมยาสลบ (Awareness)

การรู้สึกตัว ได้ยิน จำเหตุการณ์ได้

การรู้สึกตัว ได้ยิน จำเหตุการณ์ได้ และอาจรู้สึกเจ็บปวด จากการผ่าตัดขณะนั้นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ใครหลายๆคนกลัวว่าจะตื่นขณะทำไหม

จากการสอบถามหมอวิสัญญีแล้ว โอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก หรือแทบจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากยาสลบจะกดความรู้สึกตัวและความทรงจำ

โดยผู้ทำการผ่าตัดจะหมดสติ ไม่ได้ยิน หรือจำเหตุการณ์ขณะผ่าตัดไม่ได้ อีกทั้งหมอวิสัญญีจะดูมอนิเตอร์สัญญาณชีพต่างๆ รวมถึงสังเกตอาการผู้ทำการผ่าตัด ขณะผ่าตัดตลอดเวลา

คุณหมอคอยมอนิเตอร์ สัญญาณชีพ

แต่ในบางเคสที่มีโอกาสตื่น เช่น อยู่ในภาวะที่มีอันตรายต่อชีวิต ทางวิสัญญีแพทย์จำเป็นต้องลดระดับการสลบลงกะทันหัน เพื่อรักษาชีวิต เช่นกรณีการเสียเลือดมากอย่างรวดเร็ว เกิดภาวะช็อก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกรณีรุนแรงจนหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

ในช่วงที่มีการลดระดับการสลบ ผู้ทำการผ่าตัดอาจมีจังหวะที่รู้สึกตัวขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกเจ็บปวด เนื่องจากฤทธิ์ยาแก้ปวดที่ให้มักยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งส่วนมากจะเกิดในเคสที่มีการผ่าตัด แบบรักษามากกว่าค่ะ

การกลัวไม่ตื่น ขณะใช้ยาสลบ

ส่วนอีกหนึ่งอย่างที่ตรงกันข้ามกับตื่นขณะยาสลบก็คือ การกลัวไม่ตื่นขณะใช้ยาสลบ เนื่องจากข่าวต่างๆ

จากที่หมอสอบถามหมอวิสัญญีหลายๆท่าน ถ้าทำภายใต้สถานที่มาตรฐาน มีเครื่องมือพร้อม ตัวยาถูกต้อง และถูกกฎหมาย ผ่าน อ.ย. และดูแลโดยหมอวิสัญญี ทุกขั้นตอน จะไม่มีปัญหานี้อย่างแน่นอน

เพราะว่าหมอวิสัญญี จะดูแลตั้งแต่การหายใจ ค่าสัญญาณชีพต่างๆ สังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นของผู้ทำการผ่าตัด ในระหว่างผ่าตัด ดังนั้นไม่มีทางที่ไม่ตื่นอย่างแน่นอน

สิ่งที่หมอหลิว อยากบอกทิ้งท้าย

บางคนไปเจอที่ยาสลบถูกมาก แล้วก็มาเปรียบเทียบเอาราคาที่ถูกที่สุด หรือมาบอกหมอว่า ที่นี้ 2,000-3,000บาทเอง ทำไมของหมอแพงจัง

อย่างแรกเลย อย่ามองที่ราคา ว่าที่ไหนถูก หรือแพง เพราะว่าชีวิตเราแพงกว่าค่ายาสลบแน่นอน

ควรเลือกสถานที่อุปกรณ์ครบ คือ อุปกรณ์ช่วยชีวิตครบ ยามีครบที่ต้องใช้กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีเครื่องปั๊มหัวใจ หรือเครื่อง AED และที่สำคัญหมอที่ดูแลเราขณะผ่าตัด เป็นหมอวิสัญญีจริงๆ ไม่ใช่พยาบาล หรือแค่คนมีประสบการณ์ด้านนี้ เพราะว่าถ้ามองจากภาพรวมแล้ว แค่ค่าเครื่องยาสลบ ก็ราคาหลักล้าน

ตัวยาที่ใช้ขณะวางยาสลบก็ค่อนข้างเยอะ รวมถึงค่าตัวหมอวิสัญญีเองก็ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ค่าตัวที่ถูก ดังนั้นค่าใช้จ่ายถ้ามองความเป็นไปได้ น่าจะไม่ต่ำกว่าหลักหมื่นแน่นอน เพราะว่าแค่ค่าอุปกรณ์ และตัวยาที่ค่อนข้างแพงแล้ว

ดังนั้นอย่ามองที่ราคาอย่างเดียว ควรมองเรื่องความปลอดภัย คลินิกได้มาตรฐาน สำคัญคือสามารถตรวจสอบได้ว่า คนที่ดูแลเราระหว่างเราหลับนั่นคือ หมอวิสัญญีจริงๆ

พูดคุยกับหมอหลิว ปรึกษาเรื่องยาสลบระหว่างผ่าตัด

Line-tonliewclinic

แชร์เรื่องยาสลบ ได้ที่ปุ่มด้านล่าง